Skip to content
Menu
คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม
  • โรคมะเร็งตับ
คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม

ทำไม… ต้องพบจิตแพทย์ ?

Posted on กรกฎาคม 29, 2020

การทำจิตบำบัด โดยการเปลี่ยนความคิด หรือ Cognitive Therapy จึงถูกนำมาใช้โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขลักษณะที่เป็นข้อเสียโดยเฉพาะในด้านความคิด วิธีการ คือ นำเทคนิคการสังเกตคำพูดจากการสนทนาระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย และสะท้อนความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความคิดที่ไม่เหมาะสม โดยชี้ให้เห็นว่าความคิดนั้นอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล และความเป็นจริงหรือไม่ ร่วมกับการใช้เทคนิคเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากการแก้ไขความคิดหรือความเชื่อ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ความเศร้า ความวิตกกังวล และความโกรธ โดยอารมณ์เหล่านี้มักถูกกระตุ้นจากการรับรู้ว่ามีการสูญเสียที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต, ปัจจุบัน หรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ความรู้สึกผิดที่มีต่อผู้อื่น เมื่อตนเองได้ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ไม่เหมาะสม แพทย์ผู้รักษามีหน้าที่ ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้ตระหนักและตรวจสอบเมื่อมีความคิดเชิงลบที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และวิธีการที่จะจัดการกับความคิดนั้นให้หมดไป

สถานการณ์สมมติ 2 เหตุการณ์
เด็กหนุ่มคนหนึ่ง อายุ 20 ปี รู้สึกอ่อนเพลีย อ่อนไหวง่าย ขาดความมั่นใจ จิตใจไม่เป็นสุข หาสาเหตุไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร เป็นมาตั้งแต่ย่างเข้าวัยรุ่น อาการจะดีขึ้นบ้างเมื่อมีคนเอาใจ หรือได้ไปเที่ยวพักผ่อน บางครั้งก็หาทางออกโดยการดื่มเหล้า หรือเสพยาเพื่อให้เมาและลืมไปชั่วขณะ
หญิงโสดคนหนึ่ง อายุ 23 ปี เธอไม่รู้ว่าตัวเองเป็นคนแบบไหน บางครั้งเธอจะอารมณ์รุนแรงมาก และถึงกับเคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว 3 หน แต่เวลาที่เธออารมณ์ดีเพื่อนๆ จะบอกว่าเธอเป็นคนร่าเริง คุยเก่ง เธอเคยมีแฟนหลายคนทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่เธอกลับรู้สึกว่าไม่มีใครที่ถูกใจเธอเลย เธอเคยเรียนหนังสือแต่ไม่จบ จึงเปลี่ยนไปทำงานอยู่กับบ้านพักหนึ่ง แล้วเธอจึงหันมาเรียนทางด้านการแสดง เพราะคิดว่าตัวเธอเองน่าจะเป็นนักแสดงที่ดีได้

ทั้งสอง มาโรงพยาบาลด้วยอาการเดียวกัน คือ รู้สึกเครียดไม่สบายใจ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ทำอะไรก็ผิดพลาดไปหมด โลกนี้ไม่น่าอยู่ ไม่รู้อนาคตจะเป็นอย่างไร อยากขอคำปรึกษาเฉยๆแต่ไม่อยากกินยา ขณะเดียวกันก็กลัวว่าการไปพบจิตแพทย์จะถูกมองในทางไม่ดี เช่น ถูกหาว่าเป็นโรคจิต และไม่รู้ว่าการได้รับคำปรึกษาจะแตกต่างจากการพูดคุยกับคนสนิทที่รู้ใจอย่างไร

อาการแบบนี้ ทางการแพทย์บอกได้ว่า น่าจะมีปัญหาทางความคิด คือ คิดทางลบ และร่วมกับมีปัญหาทางอารมณ์ คือ ซึมเศร้า ไม่ถึงขนาดเป็นโรคจิต การมาพบจิตแพทย์น่าจะดีกว่าการพูดคุยกับคนสนิท เพราะหากไม่ต้องการกินยา การทำจิตบำบัดโดยการเปลี่ยนความคิด หรือ cognitive therapy อาจจะช่วยได้

ตามทฤษฏีของ Aron T. Beck กล่าวว่า “วิธีการมองตัวเอง หรือ มองโลกของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีต เป็นตัวกำหนดความคิด และแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมต่างๆ ที่เห็นได้”
การทำจิตบำบัด โดยการเปลี่ยนความคิด หรือ Cognitive Therapy
จึงถูกนำมาใช้โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขลักษณะที่เป็นข้อเสียโดยเฉพาะในด้านความคิด วิธีการ คือ นำเทคนิคการสังเกตคำพูดจากการสนทนาระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย และสะท้อนความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความคิดที่ไม่เหมาะสม โดยชี้ให้เห็นว่าความคิดนั้นอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล และความเป็นจริงหรือไม่ ร่วมกับการใช้เทคนิคเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากการแก้ไขความคิดหรือความเชื่อ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ความเศร้า ความวิตกกังวล และความโกรธ โดยอารมณ์เหล่านี้มักถูกกระตุ้นจากการรับรู้ว่ามีการสูญเสียที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต, ปัจจุบัน หรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ความรู้สึกผิดที่มีต่อผู้อื่น เมื่อตนเองได้ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ไม่เหมาะสม แพทย์ผู้รักษามีหน้าที่ ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้ตระหนักและตรวจสอบเมื่อมีความคิดเชิงลบที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และวิธีการที่จะจัดการกับความคิดนั้นให้หมดไป

การทำจิตบำบัดโดยการเปลี่ยนความคิด มีทั้งแบบการรักษาระยะสั้น และระยะยาว
การรักษาระยะสั้น
คือ 15-20 ครั้ง ในเวลา 12 สัปดาห์ โดยอาศัยความร่วมมือกันอย่างแข็งขัน ระหว่างผู้ป่วยและผู้รักษา การรักษาจะชักนำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงความคิดพื้นฐานที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ อาจใช้วิธีการทำเป็นกลุ่ม หรือเฉพาะบุคคล มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาปัจจุบัน ในระหว่างการรักษาทั้งผู้ป่วยและผู้รักษา อาจจะเกิดความรู้สึกกดดันได้ เพราะผู้ป่วยต้องกลับไปทำการบ้านตามที่ได้รับมอบหมาย คือ การฝึกสังเกตและเปลี่ยนความคิด แต่จะเป็นการใช้เวลาอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด อ่านเพิ่มเติม

 

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เรื่องล่าสุด

  • Godzilla (1998)
  • Toy Story 4 (2019)
  • This is the difference between an architect and a building designer
  • Naruto: Every Member Of The Akatsuki, Ranked By Intelligence
  • Oberon/Sugou Nobuyuki Was Born Into A Rich Family But Wanted To Feel Like A God (Sword Art Online)

ความเห็นล่าสุด

    คลังเก็บ

    • เมษายน 2021
    • มีนาคม 2021
    • กุมภาพันธ์ 2021
    • มกราคม 2021
    • ธันวาคม 2020
    • พฤศจิกายน 2020
    • ตุลาคม 2020
    • กันยายน 2020
    • สิงหาคม 2020
    • กรกฎาคม 2020
    • มิถุนายน 2020
    • พฤษภาคม 2020

    หมวดหมู่

    • betting
    • blackcat agency
    • designing the rooms
    • marketing
    • MOVIE
    • The Glory of Tang Dynasty
    • Uncategorized
    • กราฟิก
    • ติดฟิล์มรถยนต์เชียงใหม่
    • ฟิล์มติดรถยนต์
    • สุขภาพ

    Meta

    • ลงทะเบียน
    • เข้าสู่ระบบ
    • เข้าฟีด
    • แสดงความเห็นฟีด
    • WordPress.org
    ©2021 คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม | WordPress Theme by Superbthemes.com