Skip to content
Menu
คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม
  • โรคมะเร็งตับ
คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม

การเคาะปอด เพื่อระบายเสมหะในเด็กเล็ก

Posted on สิงหาคม 7, 2020

1. การเคาะปอดระบายเสมหะในเด็ก
อาการเจ็บป่วยที่มักพบบ่อยในเด็กคือโรคระบบทางเดินหายใจ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบทางเดินหายใจ ร่างกายจะพยายามกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นด้วยการไอออกมา (หรืออาจกลืนลงไปบ้าง ร่างกายก็จะขับถ่ายออกมาได้เอง) เป็นกลไกป้องกันตัวตามปกติของร่างกาย แต่สำหรับเด็กมักจะไม่สามารถไอและขับเสมหะออกมาได้เอง ทำให้เกิดภาวะการคั่งค้างของเสมหะในทางเดินหายใจของผู้ป่วยเด็ก เป็นปัญหาสำคัญในการขัดขวางการระบายอากาศ ทำให้ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ตามปกติ ส่งผลให้ต้องออกแรงในการหายใจมากขึ้นจนมีอาการหอบเหนื่อยตามมา บางรายอาจมีเสมหะมากจนอุดกั้นท่อทางเดินหายใจ อาจทำให้เกิดภาวะปอดบวมหรือปอดอักเสบได้ ผู้ป่วยเด็กจึงควรต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และเมื่อมีการสะสมเสมหะมากขึ้น หรือเสมหะมีลักษณะเหนียวมากขึ้น จะทำให้ผู้ป่วยเด็กไม่สามารถขับเสมหะออกจากทางเดินหายใจโดยอาศัยกลไกของร่างกายเพียงอย่างเดียวจำเป็นต้องมีการทำกายภาพบำบัดทรวงอก (Chest Physiotherapy) เพื่อช่วยขับเสมหะออกมา ซึ่งได้แก่การเคาะปอด, การใช้แรงสั่นสะเทือน, การจัดท่าระบายเสมหะ และการฝึกไอให้มีประสิทธิภาพ

2. การเคาะปอด (Chest Percussion)
การเคาะปอดและการสั่นปอด มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือการทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนผ่านผนังทรวงอกลงไปถึงแขนงหลอดลม ลมที่กระทบผนังทรวงอกขณะเคาะ จะทำให้เสมหะที่เกาะอยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนปลายค่อยๆหลุดเลื่อนไหลออกมาตามแขนงหลอดลมจากเล็กไปใหญ่ และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอเพื่อระบายเสมหะออก ในเด็กเล็กอาจใช้ผ้าบางๆ วางบนตำแหน่งที่เคาะ การเคาะปอด จะต้องทำมือลักษณะเป็นกระเปาะหรือรูปถ้วย (cup hand) ปลายนิ้วชิดกัน ข้อมือ ข้อศอก และไหล่เคลื่อนไหวสบายๆ เคาะด้วยความถี่ 3 ครั้งต่อวินาที เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ให้ทั่วๆบริเวณทรวงอกส่วนที่เคาะอยู่ เคาะวนเป็นวงกลม หรือเลื่อนไปทางซ้ายและขวาก็ได้ โดยเคาะตามลักษณะกายวิภาคศาสตร์กลีบของปอด 2 ข้าง กลีบละ 1 – 2 นาที ใช้เวลารวมทั้งหมดไม่ควรเกิน 30 นาที (ในทารกแรกเกิด นักกายภาพบำบัดอาจเลือกใช้วิธีใช้นิ้วเคาะปอดแทนการใช้ทั้งอุ้งมือ)

3. การสั่นปอด (Chest Vibration)
การสั่นปอด จะออกแรงสั่นบนผนังทรวงอกที่ต้องการระบายเสมหะ โดยใช้แรงสั่นผ่านทางมือของผู้รักษา ในช่วงหายใจออกและขณะไอของผู้ป่วย แรงสั่นนี้จะช่วยทำให้เสมหะค่อยๆหลุดออกมาได้ดียิ่งขึ้น แต่วิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญของผู้รักษาค่อนข้างมาก เพราะเป็นท่าทางที่ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าที่แขนของผู้รักษาได้ง่าย หรือถ้าสั่นไม่ถูกวิธี อาจไม่ส่งผลให้เสมหะของผู้ป่วยหลุดออกมาตามทางเดินหายใจ ในปัจจุบันจึงนิยมใช้เครื่องมือที่ทำให้เกิดแรงสั่นคือ เครื่องสั่นปอด (chest vibrator) สามารถทดแทนการใช้มือของผู้รักษาได้ และในผู้ป่วยเด็ก การใช้เครื่องสั่นปอด พบว่าทำให้เด็กมีอาการหวาดกลัว หรือตกใจน้อยกว่าใช้มือเคาะปอดอีกด้วย

sexy gaming

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เรื่องล่าสุด

  • Godzilla (1998)
  • Toy Story 4 (2019)
  • This is the difference between an architect and a building designer
  • Naruto: Every Member Of The Akatsuki, Ranked By Intelligence
  • Oberon/Sugou Nobuyuki Was Born Into A Rich Family But Wanted To Feel Like A God (Sword Art Online)

ความเห็นล่าสุด

    คลังเก็บ

    • เมษายน 2021
    • มีนาคม 2021
    • กุมภาพันธ์ 2021
    • มกราคม 2021
    • ธันวาคม 2020
    • พฤศจิกายน 2020
    • ตุลาคม 2020
    • กันยายน 2020
    • สิงหาคม 2020
    • กรกฎาคม 2020
    • มิถุนายน 2020
    • พฤษภาคม 2020

    หมวดหมู่

    • betting
    • blackcat agency
    • designing the rooms
    • marketing
    • MOVIE
    • The Glory of Tang Dynasty
    • Uncategorized
    • กราฟิก
    • ติดฟิล์มรถยนต์เชียงใหม่
    • ฟิล์มติดรถยนต์
    • สุขภาพ

    Meta

    • ลงทะเบียน
    • เข้าสู่ระบบ
    • เข้าฟีด
    • แสดงความเห็นฟีด
    • WordPress.org
    ©2021 คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม | WordPress Theme by Superbthemes.com