Skip to content
Menu
คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม
  • โรคมะเร็งตับ
คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม

ควรปรึกษาแพทย์ ปวดท้องน้อย ปวดหน่วงๆ หน้าท้องบวม

Posted on สิงหาคม 8, 2020

เชื่อว่าในชีวิตของลูกผู้หญิงหลายคนจะต้องเคยมีประสบการณ์ปวดท้องน้อยกันบ้าง อาจะปวดน้อย ปวดมาก แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่แต่ละบุคคลในระหว่างที่มีประจำเดือน แต่คุณรู้หรือไม่ว่า อาการปวดท้องน้อย ปวดหน่วงๆ บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องปกติของของเดือนเสมอไป หากมาพร้อมกับอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังทุกวัน รอบเดือนมากผิดปกติ ปวดหน่วงๆ จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำอื่นได้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆได้ การปวดท้องน้อย สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มีทั้งแบบเรื้อรัง และทันทีทันใด ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ต่างกัน

การปวดท้องน้อยเรื้อรัง (Chronic pelvic pain) โดยส่วนใหญ่จะเริ่มจากปวดแบบเป็นๆ หายๆ กระทั่งปวดตลอดเวลา หรืออาจจะปวดหน่วงๆ เป็นช่วงๆ ไม่สม่ำเสมอ บางรายปวดร่วมกับการมีประจำเดือน ตามหลักเมื่อสตรีมีประจำเดือนไม่ควรจะปวด หรือปวดเพียงเล็กน้อยพอรู้สึก ถ้า ปวดมาก มักจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นจากโรคอื่นๆ เช่น เนื้องอกมดลูก (ถ้าก้อนโตมากๆ อาจคลำได้ก้อนที่บริเวณท้องน้อย หรือมีอาการท้องโตคล้ายคนท้อง) ซีสต์ที่รังไข่ และ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่ อาการปวดมักจะเป็นต่อเนื่องกันมากกว่า 3-6 เดือน มีอาการเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือมีประจำเดือนออกมาก หรือนานผิดปกติ บางรายอาจมีอาการปวดขณะถ่ายปัสสาวะ หรือร่วมเพศ และอาจคลำเจอก้อนเนื้อที่ท้องน้อย
ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน (Acute pelvic pain) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด และมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นลม สาเหตุจากการขาดเลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะในช่องท้องที่เป็นสาเหตุ หรืออาจเกิดจากอวัยวะที่เป็นสาเหตุได้รับความเสียหาย และมักเกิดจากสาเหตุเพียงอย่างเดียว ที่พบได้บ่อยๆ เช่นการอักเสบต่างๆ ได้แก่ มดลูกอักเสบ ปีกมดลูกอักเสบ ลำไส้อักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบหากเกี่ยวข้องกับมดลูกอักเสบ โดยทั่วไปสังเกตได้จากการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ อาจมีอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย มีอาการปวดหลังร่วมด้วย

จะรู้ได้อย่างไรว่าอาการ “ปวดท้องน้อย” ที่เป็นมาจากสาเหตุใด?
สาเหตุของการปวดท้องน้อยมีหลายอย่าง หากมีอาการควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และรับการรักษาต่อไป ปัจจุบันการค้นหาโรคจากความผิดปกติทำได้ไม่ยุ่งยาก และเสียเวลา เช่น การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) ซึ่งจะทำให้เห็นลักษณะของมดลูก และปีกมดลูกได้ การส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ การทำเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอ็มอาร์ไอ เป็นต้น
การรักษามีวิธีการอะไรบ้าง?
เมื่อทราบสาเหตุแล้ว ทางเลือกการรักษาเริ่มจากการใช้ยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดการอักเสบ หรือฮอร์โมน การผ่าตัด เช่น ขึ้นอยู่กับอาการ ความเหมาะสม และวิจารญาณของแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย อย่างไรก็ตาม การปวดท้องน้อยมีทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง เมื่อเกิดแล้วไม่ควรมองข้าม ควรตรวจเช็คสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเอง

sexy gaming

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เรื่องล่าสุด

  • Godzilla (1998)
  • Toy Story 4 (2019)
  • This is the difference between an architect and a building designer
  • Naruto: Every Member Of The Akatsuki, Ranked By Intelligence
  • Oberon/Sugou Nobuyuki Was Born Into A Rich Family But Wanted To Feel Like A God (Sword Art Online)

ความเห็นล่าสุด

    คลังเก็บ

    • เมษายน 2021
    • มีนาคม 2021
    • กุมภาพันธ์ 2021
    • มกราคม 2021
    • ธันวาคม 2020
    • พฤศจิกายน 2020
    • ตุลาคม 2020
    • กันยายน 2020
    • สิงหาคม 2020
    • กรกฎาคม 2020
    • มิถุนายน 2020
    • พฤษภาคม 2020

    หมวดหมู่

    • betting
    • blackcat agency
    • designing the rooms
    • marketing
    • MOVIE
    • The Glory of Tang Dynasty
    • Uncategorized
    • กราฟิก
    • ติดฟิล์มรถยนต์เชียงใหม่
    • ฟิล์มติดรถยนต์
    • สุขภาพ

    Meta

    • ลงทะเบียน
    • เข้าสู่ระบบ
    • เข้าฟีด
    • แสดงความเห็นฟีด
    • WordPress.org
    ©2021 คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม | WordPress Theme by Superbthemes.com