Skip to content
Menu
คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม
  • โรคมะเร็งตับ
คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม

พ่อแม่ต้องรู้ทัน! สัญญาณเตือน…โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease) ในเด็ก

Posted on กรกฎาคม 15, 2020

โรคคาวาซากิ …ยิ่งรักษาเร็ว ยิ่งลดโรคแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิต

ปัญหาสำคัญของโรคนี้ คือ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่หัวใจและเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ (coronary artery) และการอักเสบกล้ามเนื้อหัวใจรอบๆ เส้นเลือด พบประมาณร้อยละ 20-30 ถ้าไม่ได้รับการรักษาภายในช่วง 7-9 วันแรกของโรค ซึ่งถ้าเกิดโรคแทรกซ้อนมากและรุนแรง อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ (ประมาณร้อยละ 1-2 )
ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต โดยพบประมาณร้อยละ 50-70 ของผู้ป่วย ขนาดโตกว่า 1.5 ซม. แต่ไม่เจ็บ
อาการแสดงอื่นๆ ที่อาจเกิดร่วมด้วย ได้แก่ ปวดตามข้อ ทางเดินปัสสาวะอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ ปวดท้อง ท้องเสีย เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีการเปลียนแปลงการทำงานของตับ และบางรายมาด้วยอาการช็อก
ทั้งนี้ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแสดงไม่ครบตามข้อกำหนด (criteria) เรียกภาวะนี้ว่า Incomplete Kawasaki Disease หรือ Atypical Kawasaki disease เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างทันท่วงที ภายใน 7วัน แรกของโรค และตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ถ่ายภาพรังสีทรวงอก และทำ Echocardiogram ตอนเริ่มเป็นโรคและหลังการรักษาเพื่อดูว่ามีภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจ และ/ หรือหลอดเลือดหัวใจหรือ ไม่ ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจ และหรือหลอดเลือด ก็จะต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องตามความรุนแรงของโรค
ตรวจให้รู้ว่าเป็น “ โรคคาวาซากิ ” หรือไม่…ได้ด้วยวิธีนี้
การตรวจวินิจฉัยโรคคาวาซากินั้น อาศัยประวัติและการตรวจร่างกายพบความผิดปกติดังกล่าว ร่วมกับการวิเคราะห์แยกโรคจากสาเหตุอื่น รวมทั้งการตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ถ่ายภาพรังสีทรวงอก และทำ Echocardiogram เพื่อตรวจดูว่ามีโรคแทรกซ้อนที่หัวใจและหลอดเลือดหรือไม่ และทำ Echocardiogram ฃ้ำหลังการรักษา เพื่อดูว่ามีโรคแทรกซ้อนที่หัวใจและหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจหรือไม่ และถ้ามี..ระดับโรครุนแรงแค่ไหน เพื่อวางแนวทางการรักษาต่อไป
การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคคาวาซากิ
ให้ยา Intravenous Gammaglobulin (IVIG) ในขนาดสูงเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจ และ หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ลดการอักเสบผนังหลอดเลือด เพื่อไม่ให้เกิดโป่งพอง และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ร่วมกับการให้ Aspirin
มีประมาณ 10 % ที่ผู้ป่วยดื้อต่อการรักษา ต้องให้ยาเพิ่ม
การพยากรณ์โรคและการดำเนินโรค
การพยากรณ์โรคและการดำเนินโรคจะดีถ้าผู้ป่วยไม่เกิดโรคแทรกซ้อนที่หัวใจ และเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ ก่อนและหลังการรักษา โดยหลังจากไข้ลดลงแล้ว ต้องทานยากันเลือดแข็งตัว (Aspirin) ต่ออีกนานประมาน 60 วัน ของโรค หรือจนกว่าเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจโป่งพอง (aneurysm) กลับเป็นปกติ
กรณีที่ผู้ป่วยไม่มีการแทรกซ้อนที่หัวใจและเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ (coronary artery) หลังได้รับการรักษาสามารถเล่นและทำกิจกรรมได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป มีประมาณร้อยละ 5-7 ของผู้ป่วย ที่มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนที่หัวใจ โดยเกิดเส้นเลือดโป่งพอง ( เช่น coronary artery aneurysm ขนาดเกิน 4- >10 มม. เป็นต้น) ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้ จึงควรให้รับการรักษาดูแลอย่างต่อเนื่องจากกุมารแพทย์โรคหัวใจ ด้วยการตรวจ Echocardiogram เป็นระยะ ตามความเหมาะสมของโรคแทรกซ้อน รวมทั้งบางรายอาจต้องทำ Exercise Stress Test, Computer Tomography (CT) และการสวนหัวใจ เพื่อดูความรุนแรงของโรค และวางแผนการรักษาต่อเนื่องได้อย่างถูกต้อง จนถึงเป็นผู้ใหญ่

sexy gaming

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เรื่องล่าสุด

  • PARASYTE: (KISEIJUU: SEI NO KAKURITSU): ANIME
  • Brilliant Heritage
  • ‘Delayed Justice’ sends message of hope
  • Bingo History for player
  • How to play: Baccarat for money of the fun

ความเห็นล่าสุด

    คลังเก็บ

    • กุมภาพันธ์ 2021
    • มกราคม 2021
    • ธันวาคม 2020
    • พฤศจิกายน 2020
    • ตุลาคม 2020
    • กันยายน 2020
    • สิงหาคม 2020
    • กรกฎาคม 2020
    • มิถุนายน 2020
    • พฤษภาคม 2020

    หมวดหมู่

    • betting
    • blackcat agency
    • marketing
    • MOVIE
    • The Glory of Tang Dynasty
    • Uncategorized
    • กราฟิก
    • ติดฟิล์มรถยนต์เชียงใหม่
    • ฟิล์มติดรถยนต์
    • สุขภาพ

    Meta

    • ลงทะเบียน
    • เข้าสู่ระบบ
    • เข้าฟีด
    • แสดงความเห็นฟีด
    • WordPress.org
    ©2021 คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม | WordPress Theme by Superbthemes.com