Skip to content
Menu
คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม
  • ufabet
  • ทางเข้า ufabet
  • แทงบอลออนไลน์
  • บาคาร่า
  • คาสิโนออนไลน์
  • รับทำ SEO
  • ดูบอลออนไลน์
  • ดูหนัง ออนไลน์
คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib)

Posted on กรกฎาคม 14, 2020

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib) คือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดโดยพบได้ร้อยละ 1-2 ในประชาชนทั่วไป โอกาสของการเกิดภาวะนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุโดยประชาชนในกลุ่มอายุ 80-90 ปีจะพบได้สูงถึงร้อยละ 5-15 นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ โดยผู้ที่เป็นโรคหัวใจชนิดอื่น เช่น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จะพบภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้สูงขึ้น

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คือภาวะที่มีการกระตุ้นของหัวใจห้องบนแบบกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ ทำให้การบีบตัวของหัวใจห้องบนเสียไป ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ โดยผลแทรกซ้อนของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คือ ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดออกไปได้ลดลง ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะนำไปสู่ภาวะหัวใจวายในที่สุด และการทำให้เลือดหมุนวนตกค้างในหัวใจห้องบนสามารถก่อให้เกิดลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมองได้สูงกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่าซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิต

โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น
โรคในระบบอื่นๆ เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด โรคถุงลมโป่งพอง ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะหลังการผ่าตัด เลือดออกในสมอง สมองขาดเลือด เป็นต้น
ไม่ทราบสาเหตุ

First diagnosed atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นครั้งแรก
Paroxysmal atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่เกิดขึ้นและกลับมาเต้นเป็นจังหวะปกติได้เอง ส่วนใหญ่ภายใน 24 ชั่วโมง แต่อาจเป็นนานได้ถึง 7 วัน
Persistent atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่เกิดขึ้นต่อเนื่องนานเกิน 7 วัน หรือไม่สามารถกลับมาเต้นเป็นปกติได้เอง ต้องได้รับการรักษา
Long standing persistent atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่เป็นต่อเนื่องมานานกว่า 1 ปี โดยแพทย์และผู้ป่วยตัดสินใจรักษาให้กลับมาเต้นเป็นปกติ
Permanent atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่เป็นต่อเนื่องมานานกว่า 1 ปี โดยแพทย์และผู้ป่วยตัดสินใจว่าจะไม่พยายามรักษาให้กลับมาเต้นเป็นปกติ

ผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมากกว่าครึ่งไม่มีอาการโดยตรง แต่มาพบแพทย์ด้วยผลแทรกซ้อนโดยเฉพาะอัมพาตตามส่วนต่างๆ ของร่างกายแทน ส่วนที่เหลือมาพบแพทย์ด้วยอาการดังต่อไปนี้
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ
เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
เหนื่อยขณะออกกำลังกาย
ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง
เจ็บหรือแน่นหน้าอก
เวียนศีรษะ
หายใจลำบาก
เป็นลมหมดสติ

sexy gaming

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เรื่องล่าสุด

  • Get to know degenerative valvular heart disease
  • Effects of stroke
  • Executive Functions In Child Development
  • รุ่น Top ที่สุดของ Lamina
  • How to Tailor Your Diet to Your Goals

ความเห็นล่าสุด

    คลังเก็บ

    • มกราคม 2021
    • ธันวาคม 2020
    • พฤศจิกายน 2020
    • ตุลาคม 2020
    • กันยายน 2020
    • สิงหาคม 2020
    • กรกฎาคม 2020
    • มิถุนายน 2020
    • พฤษภาคม 2020

    หมวดหมู่

    • blackcat agency
    • ufabet
    • Uncategorized
    • ติดฟิล์มรถยนต์เชียงใหม่
    • ฟิล์มติดรถยนต์
    • สุขภาพ
    • แทงบอล

    Meta

    • ลงทะเบียน
    • เข้าสู่ระบบ
    • เข้าฟีด
    • แสดงความเห็นฟีด
    • WordPress.org
    ©2021 คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม | WordPress Theme by Superbthemes.com