Skip to content
Menu
คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม
  • ufabet
  • ทางเข้า ufabet
  • แทงบอลออนไลน์
  • บาคาร่า
  • คาสิโนออนไลน์
  • รับทำ SEO
  • ดูบอลออนไลน์
  • ดูหนัง ออนไลน์
คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม

รู้ให้ทัน 3 โรคข้อไหล่ที่ไม่ควรละเลย

Posted on กรกฎาคม 11, 2020

กระดูกข้อไหล่เป็นข้อที่หัวกระดูกและเบ้าไม่ลึกมาก ประกอบขึ้นเป็นข้อไหล่อย่างหลวม ๆ โดยมี เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ยึดโดยรอบ ส่งผลให้ข้อไหล่เป็นข้อที่มีโอกาสเคลื่อนหลุดได้บ่อยกว่าข้ออื่น ๆ ในร่างกาย ซึ่งอาการปวดที่เกิดขึ้นกับข้อไหล่อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวหรือเรื้อรังและมีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละโรค
3 โรคเกี่ยวกับข้อไหล่ที่พบมากและควรรู้ไว้เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที ได้แก่ ภาวะเส้นเอ็นหัวไหล่ฉีก (Rotator Cuff Tear) ข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder) และข้ออักเสบ (Arthritis)

1) ภาวะ เส้นเอ็น หัวไหล่ฉีก
เป็นปัญหาที่พบบ่อยทั้งในคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการปวดและไม่สามารถใช้งานไหล่ได้ปกติ ส่วนใหญ่เส้นเอ็นมักฉีกขาดบริเวณตำแหน่งที่เส้นเอ็นเกาะกับกระดูกต้นแขน (Humerus) ซึ่งอาจฉีกเส้นเดียวหรือหลายเส้นก็ได้
การฉีกขาดอาจเริ่มจากการถลอกบริเวณด้านบนของเส้นเอ็น (ซึ่งเกิดจากการเสียดสีของหินปูนบริเวณกระดูกด้านบน (Acromion) กับตัวเส้นเอ็น) หรืออาจเกิดจากภาวะเสื่อม (Degeneration) ของเส้นเอ็น หรือเกิดจากการใช้งานหรืออุบัติเหตุ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดเวลานอน โดยเฉพาะตอนนอนตะแคงทับ ปวดเวลายกแขนขึ้นหรือลงในบางท่า อ่อนแรงในขณะยกหรือหมุนหัวไหล่ เกิดเสียงเสียดสีในขณะขยับบางท่าของไหล่ การรักษาขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่บาดเจ็บเป็นสำคัญ

2) ข้อไหล่ติด
เป็นภาวะที่มีการขยับข้อไหล่ได้น้อย โดยมักจะเริ่มจากไม่สามารถยก กาง หรือหมุนหัวไหล่ได้ ข้อไหล่จะค่อยๆ ลดการเคลื่อนไหวจนกระทั่งเคลื่อนไหวได้น้อยลง และพบว่าผู้ที่เป็นเบาหวาน ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจมีโอกาสเกิดภาวะข้อไหล่ติดได้มากกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บที่ข้อไหล่มาก่อนและมีการหยุดเคลื่อนไหวข้อไหล่ไปชั่วคราวอาจมีโอกาสข้อไหล่ติดด้วยเช่นกัน ผู้สูงอายุมักมีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าวัยอื่น ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการอาจสะสมจนเป็นมากขึ้น
สาเหตุของข้อไหล่ยึดติดเกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ ข้อไหล่ ซึ่งเรียกว่า เยื่อหุ้มข้อไหล่อักเสบ โดยปกติเยื่อหุ้มข้อไหล่จะค่อนข้างยืดหยุ่นและสามารถขยายตัวหรือหดตัวตามการขยับของข้อไหล่ แต่เมื่อเกิดภาวะข้อไหล่ติด เยื่อหุ้มข้อไหล่จะมีการอักเสบและหดตัวจนไม่สามารถยืดหยุ่นได้เหมือนเดิม ทำให้ขยับข้อไหล่ได้น้อยลงและมีอาการปวดบริเวณข้อไหล่ทั้งกลางวันและกลางคืนนานหลายสัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะยังสามารถใช้งานแขนในการดำเนินชีวิตประจำวันจากการเคลื่อนไหวที่กระดูกสะบักแทนการเคลื่อนไหวที่ข้อไหล่ อย่างไรก็ตามการพยายามดัดข้อไหล่แรง ๆ อาจทำให้การอักเสบเพิ่มขึ้นและอาจเกิดการบาดเจ็บของกระดูกและข้อได้
การรักษาคือ ต้องทำให้ข้อไหล่ขยับได้มากขึ้นและลดอาการเจ็บปวด โดยเฉพาะอาการปวดเวลานอนด้วยการทำกายภาพบำบัด เพื่อให้การติดยึดของข้อไหล่ลดน้อยลง เพิ่มการขยับให้มากขึ้น โดยอาจใช้ร่วมกับการประคบร้อน เย็น หรือทำอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) การทานยา หากอาการปวดรุนแรงเรื้อรัง อาจจำเป็นต้องใช้ยาฉีดเข้าข้อ หรือการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อขยายถุงหุ้มไหล่ให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้นตามแต่สาเหตุของโรค อ่านเพิ่มเติม

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เรื่องล่าสุด

  • Prevention of abdominal aortic aneurysm
  • Warning signs and symptoms of abdominal pain
  • ฟิล์มกรองแสงรถยนต์ ดูแลรักษาอย่างให้ใช้งานได้นาน
  • Easy And Healthy Menu To Stay Away From Arthritis And Gout
  • Get to know degenerative valvular heart disease

ความเห็นล่าสุด

    คลังเก็บ

    • มกราคม 2021
    • ธันวาคม 2020
    • พฤศจิกายน 2020
    • ตุลาคม 2020
    • กันยายน 2020
    • สิงหาคม 2020
    • กรกฎาคม 2020
    • มิถุนายน 2020
    • พฤษภาคม 2020

    หมวดหมู่

    • blackcat agency
    • ufabet
    • Uncategorized
    • ติดฟิล์มรถยนต์เชียงใหม่
    • ฟิล์มติดรถยนต์
    • สุขภาพ
    • แทงบอล

    Meta

    • ลงทะเบียน
    • เข้าสู่ระบบ
    • เข้าฟีด
    • แสดงความเห็นฟีด
    • WordPress.org
    ©2021 คนหันมาดูแลสุขภาพและความงาม | WordPress Theme by Superbthemes.com